SANKO กับความยั่งยืน

ด้วยวิสัยทัศน์และค่านิยมองค์กรที่มุ่งเน้นการผลิตที่มีคุณภาพ ส่งมอบตามเวลาและสร้างความพงพอใจให้กับลูกค้า ภายใต้ความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน บริษัทฯจึงตระหนักดีถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยทุ่มเททรัพยากรในด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมในกระบวนการ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการความเสี่ยง และการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน การปฏิบัติต่อคู่ค้าธุรกิจ ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ บนพื้นฐานของการบริหารจัดการที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ ภายใต้กรอบการบริหารที่ครอบคลุมในทุกมิติและทุกกระบวนการตาม โดยค่านิยมองค์กรสู่ความยั่งยืน ดังนี้ “Sustainable SANKO”

SANKO Sustainable Quality Management Framework

SANKO Sustainable Quality

ค่านิยมขององค์กรสู่ความยั่งยืน

ค่านิยมขององค์กรสู่ความยั่งยืน

กลยุทธ์หลักในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้วยวิสัยทัศน์ขององค์กรและค่านิยมองค์กร ร่วมกับนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและค่านิยมองค์กรสู่ความยั่งยืน บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์หลักในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของธุรกิจโดยผ่านกระบวนการบริหารความเสี่ยง และการประเมินผลกระทบของผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน พร้อมกำหนดตัวชี้วัดที่สามารถติดตามและประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินงานทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และส่งต่อเป้าหมายสู่การปฏิบัติไปยังผู้บริหารและพนักงานอย่างทั่วถึง ไว้ดังนี้

1. พัฒนา “คน” เพื่อสร้างให้เป็นคนเก่งและดี

บริษัทฯ กำหนดความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency) ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาและวิสัยทัศน์องค์กร เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะที่ทุกคนในองค์กรจำเป็นต้องมีเป็นพื้นฐาน พร้อมกำหนดความสามารถตามตำแหน่งงานไว้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะของพนักงานในการทำงาน นอกจากนี้ยังจัดหลักสูตรในการพัฒนาทางด้านจิตใจ พฤติกรรม ตลอดจนการบังคับใช้ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างให้พวกเขาเป็นคนเก่งในงาน และเป็นคนดีของสังคม ร่วมสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

2. การสร้างสมดุลยภาพระหว่างชีวิตกับงาน (Work Life Balance)

บริษัทฯ ตระหนักดีว่าถ้าพนักงานของเรามีความสุขในการทำงาน และมีความสุขในการใช้ชีวิตส่วนตัว จะช่วยทำให้เกิดการกินดีอยู่ดี มีสุขภาวะในชีวิต ซึ่งจะส่งผลและมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดความสำเร็จ ความมั่นคง และความก้าวหน้าของพนักงานองค์กร และสังคมร่วมกัน บริษัทฯ จึงสร้างกลไกของการทำงานเพื่อสร้างสมดุลยภาพระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน (WorkLife Balance) ให้บุคลากรในองค์กร โดยมีเป้าหมายการสร้างความสุขที่ยั่งยืน และพร้อมแบ่งปันความสุขสู่สังคมภายนอก

3. การสร้างความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทฯ ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม ยืดมั่นในหลักธรรมาภิบาล ให้ความสำคัญต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากกระบวนการ รวมถึงรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรผ่านเวทีการประชุมฯ คณะกรรมการความปลอดภัยฯ คณะกรรมการสวัสดิการ เวทีเสวนาชุมชนฯ กล่องรับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ฯลฯ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติ การดำเนินธุรกิจ การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ อย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านรายงานประจำปี รายงานความยั่งยืน เวทีเสวนาฯ เว็ปไซต์ ฯลฯ

ประเด็นด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

บริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการคัดเลือกและการจัดลำดับประเด็นที่มีความสำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับการคัดเลือก การประเมินและจัดลำดับความสำคัญในปีนี้ บริษัทฯ ได้มีการประชุมหารือกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร ได้แก่ คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ถือหุ้นพันธมิตร และคู่ค้า ผ่านช่องทางในการประชุม การพบปะเยี่ยมเยียน การสำรวจความคิดเห็นของลูกค้าการตอบแบบแสดงความคิดเห็นของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ตลอดจนได้มีการนำประเด็นความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อเก็บข้อมูลและนำมาคัดเลือก ประเมินความสำคัญ และจัดลำดับประเด็นความสำคัญในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

นอกจากนี้บริษัทฯ ได้มีการศึกษาและนำประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนตามแนวทางการรายงานขององค์กรความร่วมมือว่าด้วยการรายงานสากลด้านความยั่งยืน (Global Reporting Initiative-GRI G4) มาประเมินร่วมกันด้วย

กำหนดประเด็นสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน 2565

กำหนดประเด็นสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน 2565